Monday, December 15, 2014

กับดักซีเอสอาร์ และการละเลยต่อการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมให้ถูกต้อง: อาการและบทเรียนขององค์กรที่ยังไม่เกิดการเรียนรู้

บริษัทและองค์กรขนาดใหญ่ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ยังคงละเลย และไม่ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติในเรื่องการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR Communication) อย่างถูกต้อง

เมื่อช่วงปีที่ผ่านมา มีข่าวที่น่าสนใจหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของกับดักซีเอสอาร์และการละเลยต่อการสื่อสารซีเอสอาร์ ตัวอย่างเช่น มีข่าวเกี่ยวกับบริษัทที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ถูกแฉออกมาว่ามีขบวนการในการซื้อสื่อมาเป็นระยะเวลานาน ทั้งที่เป็นบริษัทที่มีการปฏิบัติที่ดี เคยได้รับรางวัล ทั้งซีจีและซีเอสอาร์จากสถาบันต่างๆ มามากมาย

หรือข่าวที่ผู้บริหารขององค์กรภาครัฐที่ถูกปลดที่มีต้นตอจากการให้สัมภาษณ์สื่อที่ไม่เหมาะสม

เรื่องดังกล่าวอาจจะหลายคนที่ตีความว่าเป็นปัญหาปกติของสื่อและองค์กรขนาดใหญ่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงปลายทางของปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่องคืกรขนาดใหญ่ของประเทศไทย ในเรื่องของการพัฒนายุทธศาสตร์ซีเอสอาร์ที่ดี เนื่องจากกรรมการและผู้บริหารของบริษัทส่วนใหญ่ ยังมองว่าซีเอสอาร์เป็นเรื่องของการบริจาค ละให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์สร้างภาพพจน์ขององค์กรเสียมากกว่า

ปัญหานี้เราอาจจะเรียกได้ว่าเป็น “กับดักซีเอสอาร์” และมักพบว่าองค์กรขนาดใหญ่เป็นส่วนใหญ่มักจะกำหนดให้ซีเอสอาร์เป็นงานส่วนหนึ่งฝ่ายประชาสัมพันธ์ขององค์กร หรืออาจจะให้งานสื่อสารซีเอสอาร์เป็นงานหนึ่งของการประชาสัมพันธ์องค์กร


ภาพจาก http://www.thriftworkshop.com/2014/04/
how-to-plan-your-escape-from-corporate.html
และถึงแม้จะมีการตั้งฝ่ายซีเอสอาร์ขึ้นมาอย่างถูกต้อง แต่ฝ่ายซีเอสอาร์ขององค์กรนั้นๆ มักจะไม่ได้รับการฝึกอบรมที่ดี และไม่สามารถควบคุมบริหาขบวนการที่สำคัญยิ่งของการทำซีเอสอาร์ ซึ่งก็คือการสือสารความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร หรือเรียกย่อๆ ว่า การสื่อสารซีเอสอาร์

การสื่อสารซีเอสอาร์นั้น ถึงแม้จะเป็นขบวนการสื่อสารประเภทหนึ่ง แต่มีความแตกต่างในเนื้อหาเป็นอย่างยิ่ง จะการสื่อสารในประเภทของการสื่อสารเชิงประชาสัมพันธ์ ซึ่งมักจะเป็นการสื่อสารทางเดียว ดังนั้นการสื่อสารซีเอสอาร์ที่ดีจึงต้องอาศัยการทำงานอย่างเป็นมืออาชีพ

และถ้าพิจารณาจากสิ่งที่เกิดของต่อผู้บริหารและองค์กรในรอบปีที่ผ่านมา อาจจะกล่าวได้ว่า การขาดซึ่งขบวนการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมได้กลายเป็น “กับดัก” ที่สำคัญอันดับต้นๆ ขององค์กรที่อยากจะได้ชื่อว่าเป็นองค์กรที่มีการบริหารดย่างมีธรรมาภิบาลที่ดี

Sunday, February 9, 2014

อย่าซีเรียส! ตลกร้ายของการเลือกตั้ง

ขณะที่เริ่มต้นเขียนบทความนี้ เป็นวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 หนึ่งวันหลังการเลือกตั้ง ที่มีผู้ตั้งชื่อไว้ว่าเป็น วันปิคนิคแห่งชาติ

บทความนี้คงไม่คุยถึงเรื่องการเมือง

แต่วันเลือกตั้งที่ผ่านมา เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญประการหนึ่งของบ้านเมือง จึงอดที่จะพูดถึงไม่ได้

สิ่งที่จะพูดถึงก็ยังคงเป็นประเด็นเรื่องธรรมาภิบาลเช่นเคย และไม่ว่าจะเป็น ธรรมาภิบาลระดับประเทศ ระดับองค์กร หรือแม้แต่ระดับบุคคลเองก็ตาม หลักการของธรรมาภิบาลนั้นไม่เคยเปลี่ยนแปลง เพียงแต่ปัจจัยและผลกระทบที่เกิดมีความกว้างขวางแตกต่างกันเท่านั้น

การเลือกตั้งที่ผ่านมา เปรียบได้กับตลกร้ายที่ประชาชนไทยอาจจะหัวเราะไม่ค่อยออก แต่ก็สะท้อนหลักการพื้นฐานที่สำคัญข้อหนึ่งของการบริหารหรือการปกครองอย่างมีธรรมาภิบาลได้เป็นอย่างดี


ภาพการ์ตูนของฝรั่งที่แซวการเลือกตั้ง จาก http://thecollaboratory.wikidot.com/state-and-local-government-2012-13

หลักการที่ว่านี้คือ

Form and Substance

ในภาษาไทย คำที่ใช้โดยทั่วไปคงมีอยู่ประมาณว่า "รูปแบบและสาระ" ซึ่งฟังดูง่ายๆ แล้วไม่ค่อยจะรู้สึกตื่นเต้นเท่าไหร่ แต่หลักการธรรมาภิบาลข้อนี้มีความลึกซึ้งที่คนทั่วไปเข้าใจไม่ทั่วถึง

Monday, January 20, 2014

นกหวีดสะท้านฟ้า!!

วันนี้ไม่ได้เขียนบทความที่เกี่ยวกับการเมืองที่กำลังขมึงเกลียวอยู่ในขณะนี้

แต่จะมาเขียนเรื่องของธรรมาภิบาลในองค์กร ซึ่งไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐ หรือองค์กรเอกชนก็ตาม

ล้วนมีคำถามสำคัญประการหนึ่ง

คำถามดังกล่าวคือ

"ถ้าผู้บริหารสูงสุดขององค์กรกระทำความผิดเสียเอง คนในองค์กรควรจะทำอย่างไร"

คำถามนี้ฟังดูเหมือนตอบไม่ยาก แต่ถ้าถามกันจริงๆ แล้ว หลายคนคงตอบว่า "ไม่ใชเรื่อง..."

เมื่อพูดถึงความผิดของผู้บริหารสูงสุด คงไม่ใช่เรื่องของการ ขาด ลา มาสาย หรือการเบิกเงินค่ารับรองเกินไปบ้าง

เนื่องจากท่านเหล่านั้นเป็นผู้บริหารสูงสุด ดังนั้นจึงเป็นคนที่ดูแลขบวนการบังคับใช้กฎระเบียบขององค์กรเสียเอง

ความผิดประเภทนี้จึงไม่เคยเกิดเป็นกรณี ที่จะจับท่านเหล่านี้ได้



ดังนั้นความผิดของผู้บริหารสูงสุดจึงเป็นความผิดอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งพนักงานปกติในองค์กรไม่ค่อยได้เจอกัน

ในทางธรรมาภิบาลเรียกความผิดประเภทนี้อย่างรวมๆ ว่า Misconduct

Monday, November 25, 2013

เรื่องไม่ง่ายของการบริจาค

เพิ่งเขียนถึงเรื่อง Climate Change ไปเมื่อไม่นานมานี้ (http://cchaiyoot.blogspot.com/2013/10/climate-change.html) คราวนี้ ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ก็ได้มาเยือนประเทศฟิลิปปินส์ไปเมื่อไม่นานมานี้

ภัยพิบัติที่ตามมา นับได้ว่าเป็นเคราะห์กรรมอีกครั้งหนึ่งของประชากรโลก เพราะไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนนับได้ว่าทำลายสถิติในด้านความรุนแรงของพายุทุกลูกที่เคยเกิดขึ้นในโลก

เลขาธิการสหประชาชาติ นายบัน คี มูน ได้กล่าวว่า ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนนับได้ว่าเป็นสัญญาณเตือนภัย ถึงปัญหา Climate Change ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ระดับความรุนแรงที่เกิดนั้นนับได้ว่าไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ตามสถิติที่สหประชาชาติได้รวบรวมไว้ ไต้ฝุ่นนี้ได้ส่งผลกระทบกับประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้มียอดผู้ตาย 4,460 คน และมีผู้ได้รับผลกระทบถึง 2.5 ล้านคนเลยทีเดียว

ภาพแม่ที่พาลูกหนีไต้ฝุ่น จาก http://darkroom.baltimoresun.com/2013/11/philippines-bracing-for-enormous-typhoon-haiyan/#1

ทำให้นึกถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดสึนามิในภาคใต้ของไทย เมื่อปี 2547 ซึ่งความช่วยเหลือต่างก็หลั่งไหลกันอย่างท่วมท้น เงินบริจาคที่ได้นับได้หลายพันล้านบาท แต่จนถึงทุกวันนี้ ก็ยังไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้ว่า เงินบริจาคด้วยความปราถนาดีทั้งหลายเหล่านั้น ไปถึงมือผู้ที่เดือดร้อนได้สักกี่เปอร์เซ็นต์

Wednesday, November 6, 2013

เมื่อ 2 มากกว่า 3: พลังของกิจการเพื่อสังคม

เมื่อเร็วนี้ได้ชมภาพยนตร์เรื่อง Iron Man 3

นอกจากจะตื่นตาตื่นใจกับเกราะเหล็กสุดไฮเทค ยังมีคำถามเชิงปรัชญาติดกลับมาด้วย

ระหว่างเกราะเหล็ก กับโทนี สต็าร์ก ใครคือ Iron Man ตัวจริงกันแน่?


เมื่อกล่าวถึง CSR ขององค์กรธุรกิจใหญ่ๆ แล้ว เราจะพบว่าต่างก็อ้างเป็นเสียงเดียวกันว่า CSR ขององค์กรนั้นๆ ตั้งอยู่บน หลักการที่เรียกว่า Triple Bottom Line หรือที่ใช้อักษรย่อว่า 3BL หรือจะเรียกในภาษาไทยให้เข้าใจได้ง่ายก็คือ "กำไรสามชั้น"

Tuesday, October 1, 2013

Climate Change, พายุหวู่ติ๊บ และการบริหารจัดการน้ำในประเทศไทย

(เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2556)

ขณะที่กำลังเขียนบทความนี้ ประเทศไทยกำลังตื่นตระหนกกับข่าวพายุไต้ฝุ่น "หวู่ติ๊บ" ที่กำลังเข้าสู่่ประเทศจีน และพัดเลยเข้าสู่ประเทศไทย

ภาพจาก www.paipibat.com
















เหตุที่ต้องตื่นตระหนก เพราะขนาด "หวู่ติ็บ" ยังมาไม่ถึง ประเทศไทยก็ได้เข้าสู่มหกรรมหวิดน้ำกันอย่างกว้างขวาง มากกว่า 17 จังหวัด ในขณะนี้

ภาพหลอนจากมหาอุทกภัยปี 2554 ดูเหมือนจะเป็นการฉายหนังซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงโหมโรง (Overture) กันพอดี โดยยังไม่อาจคาดเดาได้ว่าตอนจบจะเป็นอย่างไร

Monday, September 23, 2013

ทำอย่างไรมหาวิทยาลัยไทย จึงจะลงมาคลุกกับปัญหาสังคมอย่างจริงจัง

17 กันยายน 2556 วันนี้มีเหตุการณ์เล็กๆ ที่เกิดขึ้นภายในรั้วมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งหลายคนคงมองผ่านไป และไม่คิดว่าจะมีความสำคัญอะไร แต่ที่คณะสังคมศาสตร์ ในช่วงบ่ายได้มีพิธีบันทึกความตกลงร่วมมือกันระหว่าง กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ กระทรวงแรงงาน และทางมหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒ เพื่อที่จะส่งเสริมและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยเป้าหมายเพื่อให้เกิดระบบการพัฒนาคนพิการให้สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้เหมือนกับคนปกติ ไม่ว่าจะเป็นตลาดแรงงานของคนทำงาน หรือตลาดแรงงานของผู้ประกอบการ (Inclusive Entrepreneurship) และมุ่งประเด็นผลักดันและการทำงานร่วมกับภาคเอกชนในฐานะที่เป็นเจ้าของตลาด เพื่อส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนให้กับสังคม โดยผ่านทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับคนพิการ


เดือนกันยายน สำหรับข้าราชการไทยทุกคนเป็นเดือนที่สำคัญ เพราะว่าเป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ และเป็นเดือนที่จะต้องสรุปผลงานประจำปี เลี้ยงอำลาผู้ที่จะเกษียณอายุราชการ เลี้ยงต้อนรับผู้ที่จะได้รับตำแหน่งใหม่ ฯลฯ

และเมื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา มีการแถลงความร่วมมือที่สำคัญ เกิดขึ้นภายในรั้ว มศว. นั่นคือการแถลงความร่วมมือระหว่าง สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กรมการจัดหางาาน และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการที่จะร่วมมือผลักด้นและสนับสนุนส่งเสริมร่วมกับภาคเอกชน ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยลงมือในพื้นที่จริง เพื่อที่จะส่งเสริมให้คนพิการสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ตามปกติ