แต่จะมาเขียนเรื่องของธรรมาภิบาลในองค์กร ซึ่งไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐ หรือองค์กรเอกชนก็ตาม
ล้วนมีคำถามสำคัญประการหนึ่ง
คำถามดังกล่าวคือ
"ถ้าผู้บริหารสูงสุดขององค์กรกระทำความผิดเสียเอง คนในองค์กรควรจะทำอย่างไร"
คำถามนี้ฟังดูเหมือนตอบไม่ยาก แต่ถ้าถามกันจริงๆ แล้ว หลายคนคงตอบว่า "ไม่ใชเรื่อง..."
เมื่อพูดถึงความผิดของผู้บริหารสูงสุด คงไม่ใช่เรื่องของการ ขาด ลา มาสาย หรือการเบิกเงินค่ารับรองเกินไปบ้าง
เนื่องจากท่านเหล่านั้นเป็นผู้บริหารสูงสุด ดังนั้นจึงเป็นคนที่ดูแลขบวนการบังคับใช้กฎระเบียบขององค์กรเสียเอง
ความผิดประเภทนี้จึงไม่เคยเกิดเป็นกรณี ที่จะจับท่านเหล่านี้ได้
ดังนั้นความผิดของผู้บริหารสูงสุดจึงเป็นความผิดอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งพนักงานปกติในองค์กรไม่ค่อยได้เจอกัน
ในทางธรรมาภิบาลเรียกความผิดประเภทนี้อย่างรวมๆ ว่า Misconduct
แปลเป็นไทยอย่างง่ายๆ ว่า "การประพฤติผิดจริยธรรม" หรืออีกอย่างหนึ่งคือ "การประพฤติิผิดครรลองครองธรรม"
ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าเป็นการนิยามที่กว้าง และจับต้องได้ยาก อย่างไรก็ดีสำหรับผู้บริหารที่มีมโนสำนึกอยู่ จะรู้ได้ว่าเป็นเรื่องปฏิบัติที่มีมาตรฐานสูงมาก เพราะคำว่าิผิดครรลองครองธรรมนั้น หมายถึงการกระทำอะไรก็ตามที่ค้านกับเสียงของคนส่วนใหญ่ ซึ่งอาจจะแปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ได้ไม่ยาก
ดังนั้นองค์กรที่มีธรรมาภิบาลอยู่แล้ว จึงมักมีการกำหนดมาตรฐานจริยธรรม (Code of Conduct) ไว้ให้ชัดเจน สำหรับผู้บริหารที่มีมาตรฐานสูงอยู่แล้ว มักจะสนับสนุนให้มีการปรับปรุงมาตรฐานจริยธรรมขององค์กรนี้ ให้ได้เทียบเึคียงกับองค์กรอื่นๆ ที่มีธรรมาภิบาลเช่นกัน
อย่างไรก็ดี การที่องค์กรกำหนดมาตรฐานจริยธรรมขึ้นเอง และใช้เป็นตัววัดผู้บริหารว่ากระทำผิดหรือไม่นั้น หลายคนมองว่า ยังเป็นการกำหนดที่เข้าข้างตัวเอง และไม่มีผลอะไรเลยต่อพฤติกรรมของผู้บริหาร
ดังนั้นในทางธรรมาภิบาลจึงมีการดูความผิดของผู้บริหารอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า Malfeasance, Misfeasance และ Nonfeasance ซึ่งเป็นการดูความผิดจากผลของการกระทำต่อคู่กรณี เนื่องจากองค์กรโดยปกติจะมีปฏิสัมพันธ์หลายระดับกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือ Stakeholder เมื่อเกิดกรณีที่มีความเสียหายต่อคู่กรณีหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดังกล่าว ความผิดของผู้บริหารก็จะสามารถที่จะกำหนดดูได้ ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องขององค์กร มีได้ตั้งแต่ พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ผู้ขาย ผู้มีความสัมพันธ์กับองค์กรทั้งทางกายภาพ ทางจินตภาพ และทางระบบนิเวศ
Malfeasance หมายถึง การกระทำผิดที่เกิดโดยตั้งใจและเจตนา และส่งผลเสียหายต่อคู่กรณี ซึ่งในภาษาไทย เราสามารถเรียกได้ว่าเป็น "การกระทำผิดอย่างร้ายแรง"
Misfeasance หมายถึง การกระทำผิดที่เกิดโดยตั้งใจและเจตนา แต่อาจจะไม่ส่งผลเสียต่อคู่กรณี ซึ่งเราอาจจะเรียกได้ว่าเป็น "การกระทำผิดทางครรลอง" และเคยมีผู้กล่าวอ้างเรื่องนี้ว่าเป็นการ "บกพร่องโดยสุจริต"
Nonfeasance หมายถึง การจงใจละเลยกระทำในสิ่งต้องกระทำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคู่กรณี
ความผิดของผู้บริหารทั้งสามประเภทนี้ี มีกำหนดไว้ในกฏหมายของต่างประเทศ แต่ของประเทศไทย คงต้องอาศัยผู้รู้ทางกฎหมายไทยเป็นผู้วิจารณ์
แต่ถึงแม้จะมีการกำหนดความผิดของผู้บริหารระดับสูงไว้ได้อย่างชัดเจน ก็เป็นเพียงแต่ทำให้ "จับได้ ไล่ทัน" เท่านั้น ยังคงทำอะไรผู้บริหารระดับสูงไม่ได้ เพราะท่านเหล่านั้นเป็นผู้กุมอำนาจสูงสุดภายในองค์กร เป็นผู้ควบคุมระบบการทำงานและการกำกับดูแลอยู่
จึงมีผู้คิดค้นกลไกสำคัญขึ้นมาเพื่อจัดการกับปัญหาที่ว่านี้ กลไกนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "ผู้เป่านกหวีด" หรือ Wistleblower
กลไก "ผู้เป่านกหวีด" นี้หมายถึงช่องทางพิเศษที่องค์กรจัดขึ้น นอกเหนือจากระบบบริหารงานตามปกติ เพื่อให้ผู้ใดก็ตามที่พบเห็นหรือสงสัยในพฤติกรรมผู้บริหาร สามารถที่จะ "ร้องเรียน" มาที่คณะกรรมการพิเศษ เพื่อที่จะดำเนินการสอบสวน และลงโทษผู้บริหารได้ตามกฎหมาย ถึงแม้ผู้ร้องเรียนจะมีฐานะที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาก็ตาม
นอกเหนือจากความพิเศษของช่องทางดังกล่าว องค์กรจะต้องมีกลไกในการป้องกัน "ผู้เป่านกหวีด" และพยานต่างๆ ด้วย ทั้งนี้การเป่านกหวีดดังกล่าวอาจจะส่งผลร้ายต่อตัวผู้เป่าเอง ซึ่งองค์กรจะต้องมีการปกป้องสถานะของผู้เ่ป่านกหวีดด้วย เพราะต้องคำนึงอยู่เสมอว่า ผู้เป่านกหวีดมักจะอยู่ในสถานะที่ต่ำต้อยกว่า การที่เขาเป่านกหวีดขึ้นมาก็ด้วยความปราถนาดีต่อองค์กร และมักจะตกอยู่ในสภาวะ "สุดจะทนทาน" จึงจำเป็นต้องหยิบนกหวีดขึ้นมาเป่า
สำหรับองค์กรในประเทศไทย เราอาจจะยังไม่พบเห็นกรณีของ "ผู้เป่านกหวีด" กัน แต่ในต่างประเทศมีกรณีดังกล่าวไม่น้อย และต่างก็เป็นกรณีที่โด่งดังอีกด้วย
นิตยสารไทม์ของอเมริกา ได้นำเอากรณีของ Wistleblowersขึ้นหน้าปกหลายครั้ง
กรณีหนึ่งที่โด่งดังของอเมริกาเกิดขึ้นในปี 2002 ที่บริษัท WorldCom ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทเลคอม ติดอันดับของอเมริกา
ผู้เป่านกหวีดในกรณีนี้คือ ซินเ๊ธีย คูเปอร์ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการตรวจสอบภายในขององค์กร ซินเธียเป็นผู้พบรายการลงบัญชีที่ผิดปกติของบริษัท เธอได้นำเอาความผิดปกตินี้รายงานไปยัง สก๊อต ซูลิแวน ซึ่งเป็น CFO และเป็นผู้บริหารระดับสูงสุดที่ดูแลการเงินและการบัญชีขององค์กร
สก๊อตได้อธิบายเหตุผลของรายการบัญชีดังกล่าว และสั่งให้เธอหยุดการตรวจสอบ และให้รอไปถึงไตรมาสสาม
แต่ซินเธีย ไม่ได้หยุดตามคำสั่งของสก๊อต และเธอได้เดินหน้าตรวจสอบต่อไป โดยรายงานตรงไปยังคณะกรรมการจนมีการเปลี่ยนตัวบริษัทตรวจสอบภายนอก ในที่สุดบริษัทได้ทำการแก้ไขรายงานทางบัญชีใหม่ มีผลทำให้ ตัวเลขรายได้ลดลงถึง $3.9 พันล้านดอลล่าห์ และทำให้สำนึกงาน กลต. ของอเมริกามาตรวจสอบรายการทุจริตรายนี้ จนมีการจับกุมเกิดขึ้น
ถ้าซินเธียทำตามที่สก็อตสั่ง การตรวจสอบทุจริตรายนี้คงไม่เกิดขึ้น และผู้ที่จะเสียหายก็คือผู้ถือหุ้นของบริษัท WorldCom ทั้งหมด
ตัวอย่างเช่นนี้อาจจะยังคงไม่เห็นในองค์กรของประเทศไทย
อย่างไรก็ดี กรณี "ผู้เป่านกหวีด" นี้จะเป็นการตอบคำถามสำคัญข้างต้น
"ถ้าผู้บริหารสูงสุดขององค์กรกระทำความผิดเสียเอง คนในองค์กรควรจะทำอย่างไร"
แต่ในถนนการเมืองของบ้านเราขณะนี้ กำลังเกิดกรณี "ผู้เป่านกหวีด"
ถึงแม้ผลลัพธ์อาจจะยังไม่เป็นที่ชี้ชัด แต่ต้องกล่าวว่าเป็นการทำ Wistleblower ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว
และคงกล่าวไม่ผิดเลยที่จะเรียกกรณีนี้ว่าเป็น
"นกหวีดสะท้านฟ้า" !!!
CChaiyoot
20 มกราคม 2557
No comments:
Post a Comment